เมนู

 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 06/07/2010
ปรับปรุง 02/09/2019
สถิติผู้เข้าชม 1,077,052
Page Views 1,474,673
 
« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      

ฟันธง..ก้อนน้ำมันดินบนชายหาดไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ล้างออกได้ด้วยน้ำเปล่า

(อ่าน 1565/ ตอบ 0)

dobby8179 (Member)

สมาชิกใหม่

ก้อนน้ำมันบนดิน (Tar ball) ที่พบบริเวณชายฝั่งทะเลในหลายพื้นที่ชายหาดต่างๆในขณะนี้ รวมถึงชายหาดระยอง ซึ่งแน่นอนว่าเป็นทัศนียภาพที่ไม่สวยงามนัก และมีผลกระทบต่อด้านท่องเที่ยวเชิงลบ เพราะนักท่องเที่ยวเกิดความไม่แน่ใจในความปลอดภัย ความสะอาด ว่ามาจากเหตุการณ์ข่าวน้ำมันรั่วไหลบริเวณชายหาดเสม็ดหรือไม่ ฯลฯ ..ซึ่งจริงๆแล้วหากเราได้รู้ว่าก้อนน้ำมันดินเหล่านี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งจากมนุษย์และธรรมชาติ รวมทั้งไม่ได้มีอันตรายมากมายอย่างที่เข้าใจ แค่เพียงล้างออกได้ด้วยน้ำสะอาด ทั้งนี้ ได้ไปเจอบทความที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ จึงอยากหยิบยกบางช่วงบางตอนมาฝากกัน ซึ่งคงจะคลายความกังวลกับนักท่องเที่ยวผู้ที่ชื่นชอบการท่องเที่ยวทะเลไปได้มากเลยทีเดียว


จากข้อมูลส่วนหนึ่งของกรุงเทพธุรกิจ รองศาสตราจารย์ ดร.ปราโมช รังสรรค์วิจิตร ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ เผยว่า ต้นกำเนิดทาร์บอลเกิดจากน้ำมันที่มีความหนืดสูง เช่น น้ำมันเครื่อง น้ำมันดิบ น้ำมันเตาที่รั่วไหล และเกิดการสะสมรวมตัวกันพัดมาเกยชายหาดและอาจเหนี่ยวจับตัวกับเม็ดทรายหรือขยะอื่น ๆน้ำมันเหล่านี้เกิดจากการถ่ายน้ำมันเครื่องทิ้งทะเลจากเรือบริเวณนั้น ๆ หรือ อาจจะมีบางส่วนรั่วไหลจากนอกชายฝั่ง แล้วถูกคลื่นลมพัดเข้าฝั่ง หรือกระบวนการผลิตน้ำมันบนฝั่ง แม้แต่การล้างอุปกรณ์ที่มีคราบน้ำมัน ก็เป็นที่มาของทาร์บอลได้ นอกจากนี้ยังมีที่มาจากธรรมชาติเช่น การชะล้างจากฝน หรือพายุ และการซึมของน้ำมันตามธรรมชาติใต้ท้องทะเล หลังจากมีการรั่วไหลของน้ำมันหรือปิโตเลียมในทะเล( thailand oil spill ) ส่วนเบาของสารในน้ำมันจะระเหยไป ทำให้เหลือเพียงส่วนหนักคล้าย ๆ แอสฟัลท์ ที่ผสมกับน้ำทะเลกลายเป็นสารคล้ายอีมัลชั่นที่จะถูกพัดพาเข้าสู่ชายฝั่ง มีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ และเสถียรจึงลอยพัดพาในทะเลได้หลายร้อยกิโลเมตร (http://www.petromat.org/home/?p=991)


จากการศึกษาขององค์กรทางวิทยาศาสตร์ในสหรัฐอเมริกา The National Oceanic and Atmospheric Administration, U.S. Department of Commerce พบว่าทาร์บอลไม่มีผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชนหรือสิ่งแวดล้อม แต่มีผลกระทบต่อภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยว และเศรษฐกิจ เนื่องจากมีกลิ่นเหม็นทำให้ทัศนียภาพบริเวณชายหาดสกปรก และเสียค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บและทำความสะอาดสำหรับประชาชนที่ลงเล่นน้ำ หรือเดินริมชายหาดแล้วสัมผัสโดนทาร์บอล แนะนำให้ล้างออกด้วยน้ำสะอาด หรือใช้ทราบสะอาดที่ชายหาดถูบริเวณที่ทาร์บอลติดร่างกาย เพื่อให้ทาร์บอลหลุดออกจากผิวหนัง และอาจจะใช้ผลิตภัณฑ์ประเภทไข เช่น ครีม ทำความสะอาดอเนกประสงค์ ที่ใช้ทำความสะอาดกระเป๋า รองเท้า หรือน้ำมันหล่อลื่น เช็ดคราบทาร์บอลออก ควรหลีกเลี่ยงการใช้สารละลายขจัดคราบน้ำมัน เช่น น้ำมันก๊าด น้ำมันแก๊สโซลีน น้ำมันดีเซล หรือ สารละลาย ไฮโดรคาร์บอน อื่น ๆ ในการกำจัดทาร์บอลออกจากผิวหนัง เพราะอาจทำให้ผิวหนังเกิดการระคายเคืองได้ อย่างไรก็ตาม ควรรีบล้างทาร์บอลออกให้เร็วที่สุด เพราะหากปล่อยทิ้งไว้ อาจส่งผลให้ผิดเกิดการแพ้ได้ สำหรับการทำความสะอาดชายฝั่งนั้น ถึงแม้ทาร์บอลสามารถย่อยสลายได้อย่างช้า ๆ ด้วย จุลินทรีย์บางชนิด แต่ใช้เวลานาน ดังนั้น การกำจัดทาร์บอลจึงมักเก็บออกด้วยมือหรือใช้เครื่องจักรช่วยร่อยออกแล้วนำไปเป็นเชื้อเพลิงสำหรับเตาเผา เพื่อให้ความร้อน เช่น เตาะเผาซีเมนต์ (http://www.petromat.org/home/?p=991)


 แม้ว่าทาร์บอลอาจไม่ได้มีอันตรายร้ายแรงต่อชีวิตมนุษย์หรือสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรงฉับพลันและไม่ได้หมายความว่าทาร์บอลจะต้องเกี่ยวข้องกับการรั่วไหลของน้ำมันในทะเลเสมอไป แต่การปรากฏขึ้นของทาร์บอลเป็นดัชนีชี้วัดได้ว่ามีคราบน้ำมันอยู่ในทะเลมากน้อยแค่ไหน หากเกิดทาร์บอลขึ้นบ่อย แสดงว่ามีปริมาณน้ำมันในทะเลค่อนข้างมาก อาจต้องมีการตรวจสอบต่อไปว่าต้นกำเนิดของก้อนน้ำมันทาร์บอลเป็นน้ำมันที่มาจากแหล่งใด เพื่อจะได้น้ำไปสู่แนวทางการบริหารจัดการที่ดีขึ้นได้ในอนาคตรองศาสตราจารย์ ดร.ปราโมช กล่าวปิดท้าย (http://www.petromat.org/home/?p=991)



                รู้ที่มาที่ไปของก้อนน้ำมันดิน (Tar ball) ว่าคืออะไรกันแล้ว คราวนี้หลายคนคงไปเที่ยวกันได้แล้ว เพราะหากโดนเจ้าก้อนน้ำมันดินนี้ ก็เพียงให้น้ำสะอาดล้างออกแต่อย่าทิ้งไว้ให้ติดบนผิวหนังก็เท่านั้น ..ปลอดภัย ไร้กังวลแบบนี้ ก็ไปเที่ยวทะเล เที่ยวเสม็ดกันต่อได้เลย.. 







Lock Reply

จดหมายข่าว

กรอก Email เพื่อรับข่าวสาร
 
 weather
  .
view